แผนการจัดการเรียนรู้

หน่วยการจัดการเรียนรู้ที่ 1
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1                             ห้อง 1
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่                                                   
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แรงและผลของแรง                                            เวลาเรียน 1 ชั่วโมง
ผู้สอน  นางสาว กนกวรรณ    ดวงภมร                     โรงเรียนมหาวีรานุวัตร       จังหวัดกรุงเทพมหานคร
วัน…………………..ที่………เดือน…………………….….………………                 เวลาที่สอน……………………………..
หมายเหตุ…………………………………………………………………………………………………………………….……………………...
**************************************************************************************************
สาระที่ 4 แรงและการเคลื่อนที่
1. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
          มาตรฐาน ว ๔.เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า แรงโน้มถถ่วง และแรงนิวเคลียร์ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องและมีคุณธรรม
          ตัวชี้วัด ม.๑/๑ สืบค้นข้อมูลและอธิบายปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์
          จากมาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด ผู้เรียนต้องได้เรียนรู้และสามารถอธิบายความหมายของแรง ผลที่เกิดจากแรง ปริมาณสเกลาร์ ปริมาณเวกเตอร์ได้
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
          1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของแรงและผลของแรงได้ (K)
2. นักเรียนสามารถทำการทดลองเรื่องแรงและผลที่เกิดจากแรงได้ (P
3. นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน (A)

บทบาทครู
บทบาทผู้เรียน
Plan
Desing
Management
Learning
Evaluation
Assessment

          2. ออกแบบการสอน
ผู้เรียนเลือกสื่อการสอน  ได้แก่ สื่อจริง พาวเวอร์พ้อย วีดีโอ หนังสือเรียน ใบความรู้ที่ผู้เรียนคิดว่าเหมาะกับเรื่องที่เรียนและทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้มากที่สุด
          3. สื่อการสอนที่ดีที่สุด
สื่อจริง ใบความรู้


          4. วิธีการสอน
ผู้เรียนเลือกวิธีการสอน ได้แก่ สอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สอนแบบการทดลอง สอนแบบบรรยาย สอนแบบสาธิตการสอนแบบจิตปัญญาการเรียนรู้
          5. การสอนที่เหมาะสม
ผู้เรียนออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ตามวิธีการสอนแบบจิตปัญญาการเรียนรู้ โดยมีกิจกรรมการเรียนรู้ดังนี้
ขั้น 1 การรู้จักตนเอง (5 นาที)
          - ครูแจกกระดาษ A4 ให้นักเรียนคนละ 1 แผ่น
          - นักเรียนวิเคราะห์ตนเองในประเด็นคำถามว่า ในชีวิตประวันของนักเรียนเคยออกแรงในการทำกิจกรรมใดบ้างและคำว่าแรงที่เราพูดถึงนั้นมีความหมายว่าอย่างไร(แนวคำตอบ: การออกแรงผลักประตู, แรง คือ การกระทำต่อวัตถุเพื่อเปลี่ยนสภาพเดิมของวัตถุ)
          - นักเรียนบันทึกคำตอบลงในกระดาษ
- นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนในประเด็นที่ถามและมีการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อน
ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมและใหม่ (10 นาที)
- นักเรียนเตรียมความพร้อมโดยการนั่งสมาธิเป็นเวลา 3 นาที พร้อมทบทวนความรู้เดิมของนักเรียน
- ครูกระตุ้นความสนใจของผู้เรียนโดยให้นักเรียนหนึ่งคนออกมาผลักโต๊ะหน้าห้องเรียนให้นักเรียนสังเกตแล้วตั้งคำถามว่า โต๊ะเคลื่อนที่ได้เพราะเหตุใด(แนวคำตอบ: เพราะมีแรงมากระทำ)
- นักเรียนร่วมกันตอบคำถาม
- ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ว่า ในชั่วโมงนี้เราจะเรียนเรื่อง แรงและผลของแรง พร้อมเขียนกระดานหน้าชั้นเรียน หลังจากจบชั่วโมงนี้นักเรียนสามารถอธิบายความหมายของแรงและผลของแรงได้, นักเรียนสามารถทำการทดลองเรื่องแรงและผลที่เกิดจากแรงได้, นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงาน
ขั้นที่ 3 การสร้างองค์ความรู้ (20 นาที)
          - ครูจำลองสถานการณ์เพื่อให้นักเรียนออกมาสาธิต และทำการทดลองที่ 1 เรื่องแรงและผลที่เกิดจากแรง โดยครูเตรียมอุปกรณ์การทดลองไว้ก่อน
1) การตั้งประเด็น: นักเรียนตั้งประเด็นร่วมกันให้ได้ว่าแรงและผลที่เกิดจากแรงเป็นอย่างไร
2) ศึกษา ค้นคว้า รวบรวมข้อมูล: นักเรียนศึกษาค้นคว้าความรู้เพิ่มเติมจากหนังสือเรียนหรืออินเทอร์เน็ต
3) ลงมือปฏิบัติ:                                                                       
- สถานการณ์ที่ 1 นักเรียนผลักกำแพงห้อง โดยให้นักเรียนชายหนึ่งคนออกไปยืนหน้าชั้นเรียนใกล้กับกำแพงห้อง และใช้เท้าที่ถนัดวางข้างหน้า ส่วนอีกเท้าวางไปทางข้างหลัง จากนั้นใช้ฝ่ามือทั้งสองข้างออกแรงผลักกำแพงห้องพร้อมๆกัน สังเกตผลที่เกิดขึ้น
- สถานการณ์ที่ 2 นักเรียนตีลูกปิงปอง โดยการให้นักเรียนชายสองคนออกมารับลูกปิงปองและไม้ตีปิงปองจากครู และใช้ต๊ะเรียนหนึ่งตัวจัดเป็นโต๊ะปิงปองให้นักเรียนทั้งสองออกแรงตีลูกปิงปองเป็นเวลา 30 วินาที เพื่อให้นักเรียนทุกคนสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงจากการที่นักเรียนทั้งสองคนออกแรงตีลูกปิงปอง
- สถานการณ์ที่ 3 นักเรียนเตะลูกฟุตบอล โดยการให้นักเรียนชายจำนวนสี่คนออกมาสาธิต และให้นักเรียนคนหนึ่งมารับลูกฟุตบอลจากครู จำลองพื้นที่ห้องเรียนให้กว้างพอประมาณและเหมาะสม ให้นักเรียนทั้งสี่คนสาธิตการเตะฟุตบอลเสมือนกับการเล่นฟุตบอลในสนามจริง เป็นเวลา 30 วินาที ให้นักเรียนทุกคนสังเกตผลการเปลี่ยนแปลงจากการที่นักเรียนทั้งสี่คนออกแรงเตะลูกฟุตบอล
- สถานการณ์ที่ 4 นักเรียนปั้นดินน้ำมัน โดยการให้นักเรียนหญิงหนึ่งคนออกมารับดินน้ำมันจากครู แล้วให้ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ ตามความต้องการของนักเรียนหญิงคนนี้ ให้เพื่อนนักเรียนทุกคนสังเกตผลการเปลี่ยนแปลง จากการที่นักเรียนหญิงคนนี้ออกแรงปั้นดินน้ำมันเป็นรูปต่างๆ
- นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น 5 กลุ่มๆละ 5-6 คน ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองที่ 1 เรื่องแรงและผลที่เกิดจากแรง ตามสถานการณ์ทั้ง 4 สถานการณ์ที่กำหนดให้ และสังดกตการเปลี่ยนแปลงของวัตถุขณะที่เพื่อนในกลุ่มกำลังสาธิตและช่วยกันระดมความคิดวิเคราะห์ว่า สิ่งที่ทำให้วัตถุเปลี่ยนสภาพไปจากเดิมคืออะไรและบันทึกผลการทดลองลงในใบทดลองที่ 1 เรื่องแรงและผลที่เกิดจากแรง
 4) การวิเคาะห์: นักเรียนพูดคุยร่วมกันวิเคราะห์การทดลองว่าแรงที่กระต่อวัตถุในแต่ละสถานการณ์เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
5) การสังเคราะห์: นักเรียนพูดคุยร่วมกันสังเคราะห์เกี่ยวกับแรงและผลที่เกิดจากแรงเป็นอย่างไร
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้และขยายผล (15 นาที)
- นักเรียนแต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอผลการทดลองให้เพื่อนๆฟังหน้าชั้นเรียน โดยมีการแลกเปลี่ยนและขยายผลดังนี้
1) การแสดงความคิดเห็นร่วมกัน: ตัวแทนกลุ่มแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการทดลองของตนเอง นักเรียนร่วมกันตั้งคำถามและเสนอความคิดเห็นในการนำเสนอผลการทดลองของเพื่อน
2) การประเมินผล: ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผลการทดลองเพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าการกระทำของแรงต่อวัตถุ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของวัตถุที่อยู่นิ่งอาจเริ่มเคลื่อนที่ เปลี่ยนอัตราเร็วของวัตถุ เปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุ และเปลี่ยนขนาดหรือรูปทรงของวัตถุ
3) การขยายความรู้เพิ่มเติม: ครูให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความหมายของแรงว่า แรง หมายถึง การกระทำต่อวัตถุ ซึ่งสามารถกระทำหรือพยายามที่จะกระทำต่อวัตถุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพการเคลื่อนที่หรือเปลี่ยนลักษณะรูปร่างหรืออีกความหมายหนึ่ง แรง คือ สิ่งที่กระทำต่อวัตถุในรูปของการดึงหรือการผลัก เพื่อวัตถุเคลื่อนที่ แต่เมื่อออกแรงกระทำต่อวัตถุแล้ววัตถุนั้นอาจจะเคลื่อนที่หรือไม่เคลื่อนที่ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดและทิศทางของแรงต่างๆที่มากระทำต่อวัตถุและขยายความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแรงในชีวิตประจำวันนอกเหนือจากในสถานการณ์การทดลอง
ขั้นที่ 5 การนำไปใช้และการประยุกต์ (10 นาที)
1) การอภิปราย: นักเรียนแต่ละคนพิจารณาว่าจากหัวข้อที่เรียนมาและการปฏิบัติกิจกรรม มีจุดใดบ้างที่ยังไม่เข้าใจหรือยังมีข้อสงสัย เปิดโอกาสให้นักเรียนซักถามข้อสงสัย
2) การนำเสนอ: นักเรียนร่วมกันประเมินการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มว่ามีปัญหรืออุปสรรคใดและได้มีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
3) การสะท้อนผลการเรียนรู้: นักเรียนทำใบงานที่ 1 เรื่องแรงและผลของแรง
6. แบบฝึกหัด/ใบงาน
ผู้เรียนทำใบงานที่ 1 เรื่องแรงและผลของแรง
          7. ผู้เรียนประเมินตนเอง
          ผู้เรียนมีการวิเคราะห์ตนเองว่ามีความเข้าใจในเรื่องแรงและผลของแรงมากน้อยเพียงใด สามารถอธิบายความหมายของแรงและผลที่เกิดจากแรงได้หรือไม่
          8. ผู้สอนประเมินผู้เรียน
          ผู้สอนประเมินผู้เรียนโดยการประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน ได้แก่ การมีมุ่งมั่นในการทำงาน การร่วมทำกิจกรรมการทดลอง
          9. การสืบค้นเพิ่มเติม
          ผู้เรียนสามารถเรียนรู้เพิ่มเติมจากสิ่งที่ได้เรียนรู้มาเพื่อให้เกิดความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้น จากเพื่อนที่อยู่ภายในกลุ่ม จากเพื่อนในห้อง จากครูผู้สอน ห้องสมุด และจากแหล่งเทคโนโลยีสารสนเทศ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น