D คือ การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
R คือ ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้จะนำไปสู่ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
U คือ การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้
D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs)
1 . ใช้คำถามกระตุ้นความคิดในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) เพื่อให้ผู้เรียนระบุว่าหน่วยการเรียนรู้หรือบทเรียนนั้น ๆ มีความรู้และทักษะอะไร ผู้เรียนจะต้องระบุความรู้ในรูปของสารสนเทศ (declarative knowledge) และระบุทักษะการปฏิบัติหรือกระบวนการ (procedural knowledge) ข้อมูลที่ได้จะต้องมีความชัดเจนทั้งในเรื่องของจุดมุ่งหมาย
และระดับคุณภาพของการเรียนรู้ กล่าวโดยสรุป
จุดมุ่งหมายการเรียนรู้จะถูกระบุว่า ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้อะไร
และหรือสามารถทา อะไรได้
2. ใช้คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้
เป็นการออกแบบการเรียนรู้
โดยอาศัยแนวคิดการกำหนดเกณฑ์คุณภาพเป็นค่าระดับตามโครงสร้างการสังเกตผลการเรียนรู้
(structure of observed learning out - come : SOLO Taxonomy) การวางกรอบการประเมินการเรียนรู้
จะช่วยให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนหรือเรียนรู้ตรงตามจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้อันส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
3. ผู้เรียนออกแบบการเรียนรู้หรือเลือกกลยุทธ์การเรียนรู้ของตนเอง
ที่คาดว่าจะช่วยให้ ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
โดยคำนึงถึงความมีประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ
ในกรณีที่จุดมุ่งหมายการเรียนรู้เป็นความรู้ความเข้าใจ (ตามแนวคิดบลูมส์)
กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้ สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เป็นการอ่าน (หนังสือ
คู่มือ ฯลฯ) หรือการฟัง (การบรรยาย อธิบาย ฯลฯ) เป็นต้น
ในกรณีที่จุดมุ่งหมายเป็นการพัฒนาความคิดขั้นสูง (วิเคราะห์ ประเมิน
และสร้างสรรค์ )
กิจกรรมการเรียนรู้ก็อาจใช้สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้เชิงสังคม (social constructivist) อาทิ การเรียนรู้ แบบร่วมมือกัน (cooperative learning) กลยุทธ์การเรียนรู้แบบทำงานเป็นทีม ฯลฯ
สรุป ขั้นแรกของ DRU Model ผลผลิตที่ได้จากขั้นตอน D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) คือ การระบุเป้าหมายการเรียนรู้ (goal setting relative to learning task)
ขั้นการวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ ได้นำแนวคิด “การวิจัยในกระบวนการ เรียนรู้” “สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้” มาเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ดังนี้
1. ใช้คำถามเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ (specifying learning goals) คือผลการเรียนรู้
สมรรถนะ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ระดมสมองเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แสวงหาแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้
การจัดสภาพแวดล้อมให้บรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
เป็นต้น
2. ใช้คำถามสร้างความคิดเกี่ยวกับ กิจกรรมการเรียนรู้ (learning activity) ในการเรียนรู้ผู้เรียนต้องเป็นผู้ปฏิบัติด้วยตนเองเสมอ ความสำคัญในการเรียนรู้อยู่ที่ผู้เรียนได้เรียนรู้อะไรมากกว่าที่จะบอกว่าผู้
สอนสอนอะไรหรือทำอะไร การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ – ปฏิบัติภาระงาน/
กิจกรรมตามที่วิเคราะห์และออกแบบการเรียนรู้ไว้เป็นการวางแนวทางเพื่อการเรียนรู้ซึ่งหมายถึง
การกระทำใดๆ
ที่ช่วยส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนให้บรรลุจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ผู้เรียนมีการกำกับติดตามตนเองเพื่อให้ได้ความรู้
(monitoring the execution of knowledge)
3. ใช้คำถามกระตุ้นผู้เรียนใช้กระบวนการวิจัยเพื่อสืบเสาะหาความรู้จากการศึกษาจากฐานข้อมูลความรู้ /หนังสือ หรือแหล่งสืบค้นออนไลน์ โดยระบุภาระงานในการ
สืบค้นรายบุคคลหรือกลุ่ม
และมอบหมายงาน/ภาระงานรายบุคลหรือกลุ่มแล้วแต่กรณี
ร่วมกันวางแนวทางการประเมินด้วยการระบุคุณภาพการเรียนรู้เป็นวิถีทางที่จะนำผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จในการเรียนรู้
จากการวัดผลการเรียนรู้ของตนเอง
และช่วยให้ผู้เรียนสามารถกำกับติดตามได้อย่าง กระจ่างชัด (monitoring clarity)
4. ใช้คำถามกระตุ้นให้ผู้เรียนได้ตรวจสอบทบทวนการเรียนรู้ของตนเอง อาทิ “ผู้เรียนจะทำอะไร หรือปฏิบัติอย่างไร ที่แสดงว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้” “ผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์ (วิเคราะห์ ประเมิน และสร้างสรรค์) กับแหล่งเรียนรู้อย่างไร” “ผู้เรียนจะได้รับหรือมีส่วนร่วมในการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้นั้นๆ อย่างไร” คำถามดังกล่าวนี้จะช่วยในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนเองซึ่งเป็นแนวทางกำกับติดตามที่ถูกต้องแม่นยำ (monitoring accuracy) จากนั้น ผู้เรียนร่วมกันสรุป และวิพากษ์ เป็นการนำเสนอความรู้โดยใช้ภาษา/คำพูดของตนเอง
U : การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้ (Universal Design for Learning and Assessment)
ขั้นตอนการตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิด UDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้ (U-Universal Design for Learning and Assessment) นำแนวคิดการออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล ร่วมกับแนวคิดโครงสร้างการสังเกตผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (Structure of Observed Learning Outcome : SOLO Taxonomy) มาเป็นแนวคิดในการสร้างเกณฑ์ระดับคุณภาพของพัฒนาการการเรียนรู้ ดังนี้
1. ใช้คำถามกระตุ้นให้คัดตรวจสอบทบทวนเกี่ยวกับความรู้ใหม่ที่ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าจุดหมายการเรียนรู้เกี่ยวข้องกับบริบทและหรือให้สารสนเทศพื้นฐานของเนื้อหาสาระ
หัวข้อ สำคัญของบทเรียนหรือหน่วยการเรียน
และจุดหมายดังกล่าวเหมาะสมกับท้องถิ่น และสะท้อนมาตรฐานของชาติหรือไม่
2. ใช้คำถามที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าผู้เรียนบรรลุจุดมุ่งหมายในการเรียนรู้แล้ว
โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบพื้นฐาน
การเลือกกิจกรรมที่ผู้เรียนจะได้รับโอกาสเพื่อความสำเร็จตามหลักสูตรประเมินจุดเด่น/จุดด้อยของตนเอง
สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และเสนอแนะแนวทางการแก้ไข
3. ใช้คำถามเกี่ยวกับช่องทางหรือวิธีการที่ผู้เรียนจะให้ข้อมูลย้อนกลับมาเพื่อประเมินในระหว่างเรียนและเพื่อผู้เรียนได้ประเมินตนเอง
ร่วมกันประเมินการเรียนรู้ตามหลักสูตรและการบรรลุมาตรฐานของชาติ
4. ใช้คำถามเกี่ยวกับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียน
และข้อมูลย้อนกลับ โดยรวม เพื่อนำไปวางแผนการจัดระดับคุณภาพ
และหรือตัดสินผลการเรียนที่การประเมินความรู้ ไม่ได้มาจากแบบทดสอบเท่านั้น
แต่มาจากประเมินการปฏิบัติจากชิ้นงานตามระดับคุณภาพ SOLO Taxonomy แบบประเมินผลงาน /ชิ้นงาน (ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ในขั้นการวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้ (Diagnosis of Needs) – คำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดระดับพัฒนาการในการเรียนรู้เป็นการออกแบบการเรียนรู้
The SOLO taxonomy คือการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ซึ่งไม่มุ่งเน้นเฉพาะการสอนและการให้คะแนนจากผลงานเท่านั้น ให้ความสำคัญข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนในปัจจุบัน
สื่อการเรียนรู้ ความเข้าใจในธรรมชาติของผู้เรียนในชั้นเรียน
การประเมินความสามารถของผู้เรียนแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้
1. ระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐาน (Pre-structure ) นักเรียนจะได้ข้อมูลเป็นส่วนๆ ที่ไม่ปะติดปะต่อกัน ไม่มีการจัดการข้อมูลและความหมายโดยรวมของข้อมูลไม่ปรากฏ
2. ระดับโครงสร้างเดี่ยว (Uni-structure) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลพื้นฐานง่ายต่อการเข้าใจ แต่ไม่แสดงความหมายของความเกี่ยวโยงข้อมูล
3. ระดับโครงสร้างหลากหลาย (Multi-structure) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลหลายๆ ชนิดเข้าด้วยกัน ความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างความเกี่ยวโยงไม่ปรากฏ
4. ระดับความสัมพันธ์ของโครงสร้าง (Relational Level) ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงข้อมูลได้ ผู้เรียนแสดงความสัมพันธ์ของความเกี่ยวโยงของข้อมูล และภาพรวมทั้งหมดได้
5. ระดับแสดงความต่อเนื่องในโครงสร้างภาคขยาย (Extended Abstract Level) ผู้เรียนเชื่อมโยงข้อมูลนอกเหนือจากหัวเรื่องที่ได้รับ
ผู้เรียนสามารถสรุปและส่งผ่านความสำคัญและแนวคิดที่ซ่อนอยู่ภายใต้กรณีตัวอย่าง
การนำ SOLO taxonomy มาใช้เป็นแนวการประเมินผลการเรียนรู้เป็นการกำหนดระดับคุณภาพผลการเรียนรู้ของผู้เรียนจะช่วยให้ทราบถึงพัฒนาการการเรียนรู้ระหว่างเรียน
(Formative) เพื่อที่จะได้หาวิธีการแก้ไข
ปรับปรุงวิธีการสอนและวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่โดยไม่ได้มุ่งเน้นการให้คะแนนจากผลงานทั้งจากผู้สอนและผู้เรียนเพียงเท่านั้น
สอดคล้องกับแนวคิดการพัฒนา Meta cognition ที่เน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้
ปฏิบัติจากสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้ทั้ง
ครูผู้สอนและผู้เรียนเองเกิดความกระจ่างชัดในเป้าหมายการเรียนรู้
และมีการกำกับติดตาม
กระบวนการเรียนรู้ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ปัญญาที่มีความซับซ้อนก่อให้เกิดพัฒนาการการ
เรียนรู้
สรุป ได้ว่า การดำเนินการตามขั้น U: Universal Design for learning (การออกแบบการเรียนรู้ที่เป็นสากล : UDL) เป็นขั้นที่ให้นักศึกษาประกาศนียบัตรบัณฑิตประเมินตรวจสอบทบทวนตนเองและการยืนยันความถูกต้อง
และมีการกำกับติดตามซึ่งการกำกับติดตามนั้นมีความถูกต้องแม่นยำ (Monitoring Accuracy) ผลผลิตตามขั้นตอนนี้คือ ผลประเมินการเรียนรู้ตามแนวคิด SOLO Taxonomy ซึ่งเป็นการระบุแนวทางการประเมินการเรียนรู้ตามระดับคุณภาพการเรียนรู้ โดยกำหนดระดับคุณภาพการเรียนรู้ไว้ 4 ระดับ คือระดับการเรียนรู้เท่ากับ
SOLO 1 = ต่ำ หมายถึง ระดับความจำ–ความเข้าใจ
SOLO 2 = ปรับปรุง หมายถึง ระดับการนำไปใช้-การประยุกต์ใช้ SOLO 3 = ปานกลาง/พอใช้ หมายถึง ระดับการเรียนรู้ในระดับสร้างสรรค์ (ความรู้ที่เกิดจาก ตนเอง) SOLO 4 = สูง หมายถึง ระดับMeta cognitive System (ความรู้ระดับอภิปัญญา/การรู้คิด)
ที่มา : อ.ดร.นฤมล ปภัสสรานนท์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการพัฒนา รูปแบบการสอน TNI
ทฤษฎี/แนวคิด
|
ขั้นตอน / กิจกรรมการเรียนรู้
| ||
Constructivism
|
Clarifying exist knowledge
|
Identifying receiving and understanding new information
|
Confirming and using new knowledge
|
Biggs’s 3P
|
Presage
|
Process
|
Product
|
DRU Model
|
D : การวินิจฉัยความต้องการในการเรียนรู้(Diagnosis of Needs)
|
R : การวิจัยเพื่อกำหนดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ (Research into identifying effective learning environments )
|
U : การตรวจสอบทบทวนโดยใช้แนวคิดUDL เพื่อการประเมินการพัฒนาการเรียนรู้(Universal Design for Learning and Assessment)
|
PSR
| P :การทำความกระจ่างในความรู้ที่จะเรียน | S :เลือกรับสิ่งที่จะเรียนรู้ | R :การตอบสนอง |